เงินทองต้องวางแผน

เงินทองต้องวางแผน




   เรามีความตั้งใจนำเสนอ หัวข้อนี้ เนื่องจากมีโอกาสร่วมสัมมนาที่ ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน สถาบันกองทุนเพื่อพัฒนาตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือที่รู้จักกัน นั่นก็คือ TSI โดยวิทยากรคือ ดร.ธนัยวงศ์ กีรติวานิชย์  ซึ่งเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้และจะทำให้เราคนไทยมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นด้วยวิธีง่ายๆ  เพื่อนำไปสู่ความเป็นอิสรภาพทางการเงินกันจริงๆ   ซะที
ความมั่งคั่ง ที่ใครๆ อยากมี  ทำกันอย่างไร มีเคล็ดลับและวิธีการสร้างความมั่งคั่ง เพื่อให้นำไปสู่เป้าหมาย เป็นอย่างไรนั้น ขอพูดคร่าวๆ เพราะในรายละเอียดนั้นเป็นเอกสารจากทาง TSI ค่ะ

ถ้าเรายังไม่มีอิสรภาพทางการเงิน เราต้องรักในสิ่งที่ทำอยู่
เมื่อไหร่ที่มีอิสรภาพทางการเงิน ก็สามารถทำในสิ่งที่เรารักได้


แล้ว คำว่า อิสรภาพทางการเงินคืออะไร ???  ความสามารถที่จะดำเนินชีวิตในรูปแบบที่ต้องการ โดยไม่จำเป็นต้องทำงาน หรือพึ่งพาคนอื่นในเรื่องเงิน

คนรวย จะสอนลูกสอนหลานให้รู้จักอดเปรี้ยวไว้กินหวาน  เนื่องจากคนรวยจะนำกำไรไปลงทุนในทรัพย์สินที่ก่อให้เกิดรายได้มากขึ้น

ส่วนคนชั้นกลาง จะรีบร้อนเอาเงินกำไรไปก่อหนี้สินเพิ่มรายจ่าย  เช่น ดาวน์รถหรู ซื้อบ้านหลังใหญ่ เป็นต้น (ที่มา : หนังสือจัดทัพลงทุน ดร.สมจินต์ ศรไพศาล)

ทำไมต้องออม มี 2 สาเหตุหลักใหญ่ๆ คือ

  1. ออมไว้ไม่ขัดสน เพื่อใช้ยามเจ็บป่วยฉุกเฉิน เพื่อการศึกษา เพื่อทำธุรกิจ เพื่อเป็นการสร้างหลักประกันให้กับชีวิต เพื่อสร้างอนาคต เพื่อมีเงินใช้ในวัยเกษียณไม่ต้องเป็นภาระลูกหลาน เพื่อเป็นมรดกให้ลูกหลานและสังคม
  2. วงจรชีวิตเปลี่ยนแปลง เนื่องมาจาก ต้องการการศึกษาที่สูงขึ้น ต้องการเกษียณเร็วขึ้น แต่งงานและมีลูกช้า ต้องพึ่งพาตนเองโดยใช้เงินเยอะขึ้น  อายุยืนทำให้มีระยะเวลาการใช้เงินหลังเกษียณมากขึ้น

กระบวนการสร้างความมั่งคั่ง มี 4 ข้อดังนี้

  1. การสร้างความมั่งคั่ง (Wealth Creation)  คือมีวินัยการออม และรู้วิธีควบคุมค่าใช้จ่าย
  2. การปกป้องความมั่งคั่ง (Wealth Protection) เป็นการปกป้องคุ้มครองความเสี่ยงที่อาจเกิดความเสียหายขึ้นกับทรัพย์สินที่อยู่ในความครอบครอง  โดยผ่านการวางแผนการประกัน (Insurance Planning) ทรัพย์สินที่อยู่ในความครอบครอง บางท่านอาจนึกถึงแต่ทรัพย์สินที่ไม่มีชีวิต ท่านอาจลืมทรัพย์สินที่มีชีวิตที่ทำหน้าที่สร้างรายได้และความมั่งคั่ง ได้แก่ ตัวเรา และผู้อยู่ในอุปการะ  เพราะเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันก็ทำให้เกิดความสูญเสียทางการเงิน เป็นหนทางสู่ความมั่งคั่งที่ลดลง
  3. การสะสมความมั่งคั่ง (Wealth Accumulation)  ด้วยการวางแผนภาษี (Tax Planning) และ การวางแผนการลงทุน (Investment Planning)  ซึ่งการวางแผนภาษี เป็นลดค่าใช้จ่าย (ภาคบังคับ) เป็นการลดภาระทางภาษีตามสิทธิประโยชน์ที่ภาครัฐมอบให้ มิใช่การหลีกเลี่ยงภาษีที่ผิดกฎหมาย  ส่วนการวางแผนการลงทุนเป็นการเพิ่มรายได้ เพื่อสร้างผลตอบแทนที่เพียงพอสำหรับการบรรลุเป้าหมายภายใต้ความเสี่ยงที่ยอมรับได้
  4. การถ่ายโอนความมั่งคั่ง (Wealth Distribution) โดยการวางแผนมรดก (Estate Planning)

สรุปกระบวนการสร้างความมั่งคั่ง ต้องจัดการด้วยการวางแผนทางการเงิน (Financial Planning) เพื่อวางแผนในเรื่องการเงินของตนเองและครอบครัวอย่างเหมาะสม ไม่ว่าเรื่องรายได้ รายจ่าย การจัดการหนี้สิน การออม การลงทุน ภาษี รวมไปถึงการรู้จักเตรียมตัวป้องกันความเสี่ยงต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นได้

สาเหตุที่คนส่วนใหญ่ไม่วางแผนทางการเงิน

  •      คิดว่าตนเองมีฐานะการเงินมั่นคงดีอยู่แล้ว
  •      คิดว่าตัวเองมีรายได้เพียงพอสำหรับภาระค่าใช้จ่ายรายวันแล้ว
  •      ลืมไปว่าตัวเองอาจมีโอกาสเจอกับมรสุมชีวิตบ้างในอนาคต เช่น การว่างงาน ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต เป็นต้น
  •      ไม่มีเวลาที่จะจัดทำแผนการเงินของตนเอง
  •      คิดว่าการวางแผนการเงินเป็นเรื่องที่มีค่าใช้จ่ายสูง
  •      คิดว่าการวางแผนการเงินเหมาะสำหรับผู้ที่ใกล้เกษียณอายุเท่านั้น
  •      คิดว่าการฝากเงินในธนาคารนั้นไม่มีความเสี่ยง

ข้อดีของการวางแผนทางการเงินคือ ทำให้เกิดความชัดเจน ให้เรารู้ว่า ต้องทำอะไร ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านใด ต้องปรับแผนการใช้จ่ายอย่างไร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ

แผนการเงินที่ดีต้องครอบคลุมเรื่องใดบ้าง

  1. การวางแผนเงินสดและบริหารหนี้สิน(Consumption Planning)
  2. การวางแผนจัดการความเสี่ยงและประกัน (Insurance Planning)
  3. การวางแผนเกษียณ (Retirement Planning)
  4. การวางแผนภาษี (Tax Planning)
  5. การวางแผนการลงทุน (Investment Planning)
  6. การวางแผนมรดก (Estate Planning)


ทางเราก็มีจุดประสงค์ต้องการสานฝันให้กับคนไทย ทุกๆคน เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เพราะเป้าหมายของแต่ละบุคคลย่อมไม่เหมือนกัน แต่ที่แน่ๆ ทำอย่างไรเมื่อเกษียณแล้วไม่ตกเป็นภาระลูกหลานหรือตกเป็นภาระสังคม เรามีโครงการดีๆ สอดคล้องกับการวางแผนทางการเงิน ไม่ว่าการวางแผนจัดการความเสี่ยงและประกัน (Insurance Planning) การวางแผนเกษียณ (Retirement Planning) การวางแผนภาษี (Tax Planning) การวางแผนการลงทุน (Investment Planning) และการวางแผนมรดก (Estate Planning) ส่วนการวางแผนเงินสดและบริหารหนี้สิน(Consumption Planning)  เป็นการวางแผนงบการเงินส่วนบุคคล ด้วยการบริหารรายได้ รายจ่ายในแต่ละวัน เพื่อให้เกิดฐานะทางการเงินที่มั่นคง จากนั้นจึงวางแผนต่อไปเพื่อการขยายผลอย่างที่เราต้องการ


การวางแผนจัดการความเสี่ยงและประกัน (Insurance Planning)

การประกัน เป็นการโอนความเสี่ยงไปให้กับบริษัทรับผิดชอบ เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระของเราไป  จริงๆแล้ว การทำประกันแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การประกันชีวิต และการประกันวินาศภัย

การประกันชีวิต นั้นเป็นการคุ้มครองรายได้ผู้นำครอบครัวหรือผู้ที่มีรายได้หลักของครอบครัว เพื่อเป็นหลักประกันให้กับครอบครัว ไม่ว่าเรายังอยู่หรือขี้เกียจหายใจหรือทุพพลภาพจนไม่สามารถทำงานได้ ก็
ยังมีเงินก้อนๆนึง เพื่อให้กับคนที่เรารักยังพอประคองครอบครัวไปได้ในระยะนึง(ประมาณ 3-5 ปี) ที่จะทำให้ครอบครัวฟื้นตัวและฟื้นฟูสภาพจิตใจให้พร้อมดำเนินชีวิตต่อไปได้

จำนวนเบี้ยประกันชีวิตเท่าไหร่ที่เหมาะสม ต้องไม่เกินกว่า 10 % ของรายได้ต่อปี แต่เนื่องจากกฎหมายบ้านเรา สามารถที่จะใช้ลดหย่อนภาษีได้ถึง หนึ่งแสนบาท ก็อาจจะมีบางราย อาจจะมากกว่า 10 % ได้สำหรับการวางแผนจัดการความเสี่ยงและประกัน  

เรามีความพร้อมที่จะยินดีให้บริการสำรวจข้อมูลมาตรฐานการครองชีพฟรี

การประกันวินาศภัย เป็นคุ้มครองความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับทรัพย์สินที่เราต้องการหรือเหตุการณ์ที่เราไม่อาจคาดคิดได้ (อัคคีภัย การโจรกรรม อุทกภัยฯ) เช่น รถยนต์ บ้าน อาคารประกอบธุรกิจ การเดินทาง เป็นต้น ซึ่งมีบริษัทฯ ชั้นนำ ดังนี้ วิริยะประกันภัย กรุงเทพประกันภัย สิินมั่นคงประกันภัย เอ็มเอสไอจี ไทยศรีประกันภัย เป็นต้น

เราพร้อมให้บริการเสมอ

การวางแผนเกษียณ (Retirement Planning)

เป็นการวางแผนเพื่อให้ชีวิตหลังเกษียณมีเงินจับจ่ายใช้สอยได้คล่องโดยไม่ต้องพึ่งลูกหลานหรือตกเป็นภาระสังคม โดยต้องมีการวางแผนก่อนที่จะเกษียณอายุ ยิ่งมีเวลาออมยิ่งมาก ยิ่งดี ทำให้เม็ดเงินที่เก็บก็มีปริมาณมากขึ้น

เรามีความพร้อมที่จะยินดีให้บริการสำรวจข้อมูลมาตรฐานการครองชีพหลังเกษียณฟรี

การวางแผนภาษี (Tax Planning)

การวางแผนภาษี จำเป็นต้องเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์โดยใช้สิทธิประโยชน์ตามกฎหมายให้ถูกต้อง มิใช่เป็นการหลีกเลี่ยงภาษี เพราะสรรพากรบ้านเราเริ่มมีระบบคอมพิวเตอร์ และ การเชื่อมโยงถึงแหล่งข้อมูลนั้นก็ง่ายขึ้นมาก การใช้วิธีซื้อบิล เป็นวิธีที่ไม่ถูกต้อง เพราะนั่นเป็นการเลี่ยงภาษี การลงรายจ่ายต้องห้ามในรายการบัญชี ทำให้เสียผลประโยชน์ทางด้านภาษี หากเป็นเพราะผู้ที่ทำการลงบัญชีรู้เท่าไม่ถึงการณ์ในรายละเอียดว่ารายการแต่ละรายการนั้นมีข้อกำหนดไว้อย่างไร ดังนั้น การวางแผนภาษี จึงเป็นการทำงานร่วมกับนักบัญชีและที่ปรึกษาการวางแผนภาษี เพื่อที่ปรึกษาฯ ได้วางระบบและโครงสร้างภาษีให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ขัดแย้งกับสรรพากรโดยใช้หลักการเดียวกับกรมสรรพากร

เราพร้อมบริการ โดยมีทีมงานที่ปรึกษาด้านการวางแผนภาษีเข้าไปพบท่าน โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น สำหรับการแนะนำครั้งแรก

การวางแผนการลงทุน (Investment Planning)

เป็นการลงทุนที่ได้รับอัตราผลตอบแทนสูงกว่าบัญชีออมทรัพย์ แต่แน่นอนความเสี่ยงก็ย่อมสูงกว่า เคยได้ยินคำว่า High Risk High Return หรือไม่ นั่นแหละ คือการลงทุน  แต่การลงทุนในบางครั้ง ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามที่เราคาดหวัง

สมมุติ
  มีเงิน 1,000,000 บาท ต้องการให้กลายเป็น 2,000,000 บาท
ฝากเงินในธนาคาร 1,000,000 บาท ดอกเบี้ย 2.43 % ต่อปี ต้องใช้เวลา ถึง 30 ปี จึงจะได้เงิน 2,000,000 บาท
แต่ถ้าลงทุนในหุ้น ผลตอบแทน 23.09 % ต่อปี จะใช้เวลาเพียง 3 ปี ได้เงิน 2,000,000 บาท

ซึ่งจะเห็นว่าใช้ระยะเวลาสั้นกว่า แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ขึ้นกับการจัดพอร์ตการลงทุนของผู้ที่ต้องการลงทุน
คำเตือน การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการลงทุน

เรา มีโครงการการลงทุน ที่มีผู้จัดการกองทุนที่มีประสบการณ์ พร้อมให้บริการ

การวางแผนมรดก (Estate Planning)

การทำธุรกิจ ไม่ว่าจะอย่างไร ทุกท่านต่างก็มีวัตถุประสงค์ ทำเพื่อเป็นธุรกิจของครอบครัว  แต่ในบางครั้งธุรกิจเกิดสะดุด ติดขัด ทำให้ทุกอย่างต้องเป็นของเจ้าหนี้ แล้วทายาทจะทำอย่างไร

เรา มีทีมงานทางด้านทนายความในการช่วยจัดการในการถ่ายโอนความมั่งคั่งให้กับทายาทต่อไป


แหล่งข้อมูล/ที่มา : เว็บไซต์ www.smartwealth.biz

ขอบคุณภาพประกอบจากเว็บไซต์




รับชมวีดีโองานสัมมนา. เงินทองต้องวางแผน  

จาก VDO TSI Thailand Securities Institute 

 สัมมนาออนไลน์ โดยวิทยากรคือ ดร.ธนัยวงศ์ กีรติวานิชย์ 




สอบถามข้อมูลการเงินและการลงทุน ติดต่อคุณนุส โทร. 086-335-1299