ความปลอดภัย กับ IP Camera

จากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน เราจะพบเห็นภาพเหตุการณ์ การโจรกรรม การปล้นทรัพย์ ชิงทรัพย์ ต่างๆ ผ่านข่าวสารไม่เว้นแต่ละวัน นอกจากนี้ยังมีการสูญเสียจากภัยต่างๆ เช่น อัคคีภัย อุทกภัย อุบัติเหตุ ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้เราสามารถหลีกเลี่ยง หรือผ่อนหนักให้เป็นเบาได้ ถึงแม้จะมีโครงการฝากบ้านไว้กับตำรวจ ในช่วงวันหยุดยาว หรือ จ่าเฉย (หุ่นตำรวจจราจร) ซึ่งทำให้เราอุ่นใจได้ระดับหนึ่ง แต่จะดีกว่าไหม หากเราสามารถที่จะเห็นภาพความเคลื่อนไหว ที่บ้านหรือสำนักงานของเรา ได้จากทุกที่ ทุกเวลา ที่เราต้องการ

ความปลอดภัยถือเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยรักษา และปกป้องสิ่งสำคัญนั้น ๆ ไม่ให้สูญหาย หรือโดนทำลายจากเหตุการณ์ใดๆ ก็ตาม ที่เราไม่ต้องการให้เกิดขึ้น ซึ่งการใช้กล้องวงจรปิด เพื่อตรวจตราความเคลื่อนไหว ก็ถือเป็น มาตรการรักษาความปลอดภัยแบบหนึ่ง 




ทำไมต้อง IP Camera

กล้อง IP Camera คือกล้องวงจรปิดประเภทหนึ่ง ที่รวมความสามารถของกล้องวงจรปิดและความสามารถด้านเครือข่าย IP เอาไว้ด้วย โดยจะมีเลข IP แยกแต่ละ กล้อง (คล้ายๆ เลขที่บ้านใช้บอกว่า เครื่องแต่ละเครื่องอยู่ที่ไหนบนระบบเครือข่าย) ทำให้สามารถเชื่อมต่อกับระบบเครือข่าย ที่บ้านหรือสำนักงานได้

อย่า เอากล้อง IP Camera ไปรวมกับ Webcam เพราะพวก Webcam ต้องทำงานบน OS (operating system) และ webcam ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้มีความเสถียร และใช้งานได้สะดวกเหมือนกล้องวงจรปิด โดยกล้อง IP จะมี firmware (โปรแกรมที่เขียนขึ้นมาเพื่อควบคุมฮาร์ดแวร์ เฉพาะด้านเฉพาะทาง) ทำให้ IP Camera ไม่จำเป็นต้องต่อกับคอมพิวเตอร์อยู่ตลอดเวลา สามารถทำงานได้ด้วยตัวเอง ทำให้นำไปติดตั้งที่ไหนก็ได้

 

นอกจากนี้ กล้องวงจรปิด IP Camera ยังสามารถตั้งค่าให้ ดู Live VDO หรือถ่ายทอดสดผ่าน Web Browser ได้โดยไม่ต้องลงโปรแกรมเพิ่มและไม่ต้องต่อผ่าน NVR (Network video record) เหมือนระบบ Analog ด้วยที่ต้องต่อผ่าน DVR (Digital video record)




ข้อดี-ข้อเสีย ของระบบ Analog กับ Digital

ข้อดีของระบบ Analog
1. ติดตั้งง่าย ไม่ยุ่งยาก เพราะต่ออุปกรณ์แล้วใช้งานได้เลย
2. ใช้งานง่าย ดูแลง่าย เพราะ คล้ายกับการใช้งาน เครื่องเล่น DVD
3. ราคาถูก

ข้อเสียของระบบ Analog
1. ความคมชัด ได้ไม่เกิน 600 TVL เท่านั้น
2. สายไฟต้องเดินแบบ 1:1 เท่านั้น หากเปลี่ยนตำแหน่ง DVR ต้องเดินสายใหม่ทั้งหมด
3. ใน DVR 1 ตัว จะต่อกล้องได้ไม่เกิน 16 ตัว หากเกินต้องใช้ DVR ตัวใหม่ ทำเป็นอีก 1 ระบบ และการเพิ่มกล้องทำได้ยาก ไม่ยืดหยุ่น

ข้อดีของระบบ IP Camera
1. มีความคมชัดสูง สามารถชัดได้ถึงระบบ Hidef คือ 1080P หรือ 2MP 4MP เลยที่เดียว ซูมแล้วได้ภาพที่มีความชัดเจนมาก
2. สามารถต่อพ่วงขยายจำนวนกล้องออกไปได้เรื่อยๆ โดยไม่ผูกอยู่กับ จำนวน Channel ของ DVR อีกต่อไป ระบบ Analog DVR จะมี 4 กล้อง 8 กล้อง 16 กล้อง หากเราใช้ DVR 4 Channel แต่อยากเพิ่มกล้อง อีก 1 ตัว เราต้องเปลี่ยน DVR เป็น 8 chancel ซึ่ง อีก 3 ช่องที่เหลือเราก็จะไม่ได้ใช้ แต่ระบบ IP สามารถเพิ่มกล้องเข้าไปได้เลย ทีละตัวหรือตามจำนวนที่เราต้องการได้
3. ยืดหยุ่นกว่า เนื่องจากความที่ตัวมันเป็น IP ทำให้มีความยืดหยุ่นสูง เช่น สามารถ ย้ายอุปกรณ์บันทึก (NVR) ได้ง่ายๆ แค่ดึงสายแลนออก 1 เส้น แล้วไปเสียบใหม่ในตำแหน่งใดๆในตำแหน่งที่เราต้องการขอแค่เพียงให้เป็น network วงเดียวกันเท่านั้น
4. ใช้สายจำนวนน้อยทำให้มีความเป็นระเบียบมากกว่า เนื่องจากว่าสามารถจ่ายไฟเลี้ยงกล้อง, สายสัญญาณ, สาย control กล้อง Speeddome ได้ด้วยสาย LAN เพียงเส้นเดียว ทำให้ง่ายต่อการจัดการและสวยงามกว่า
5. มีฟังชั่นที่ทำให้สะดวกสบายต่อการใช้งานมากกว่า เนื่องจากกล้อง IP มีพื้นฐานจากระบบคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถใช้ software มาบริหารจัดการได้ มีฟังก์ชั่นที่มีประโยชน์ต่อการใช้งานหลากหลาย  
6.ไม่มีข้อจำกัดในด้านการแชร์ทรัพยากรของอุปกรณ์บันทึกอีกต่อไป คือ ปกติแล้วในระบบของ Analog frame rate ของ DVR จะขึ้นกับจำนวนกล้อง หากมีกล้องมาก frame rate ต่อกล้องก็จะได้น้อยลง แต่ในระบบ IP กล้องแต่ละตัวจะมีตัวแยกประมวลผลที่ตัวกล้องเองแยกกันแต่ละตัว ไม่ว่าจะกล้องกี่ตัวก็ไม่ได้ถูก share resource แต่อย่างใด

เป็นต้น

ข้อเสียของระบบ IP
1. ราคาสูง
2.ผู้ที่ติดตั้งต้องเข้าใจระบบเครือข่ายพอสมควร เพราะต้องคำนวณ bandwidth upstream downstream frame rate ไม่ให้ระบบ network ล่ม           
3. การดูแลรักษาระบบต้องมีการเอาใจใส่ค่อนข้างมาก end user ที่ไม่มีความเข้าใจทางด้านระบบ network จะไม่สามารถแก้ไขได้
4. กล้องยังไม่มีหลากหลายประเภทเท่ากับกล้อง Analog เช่น กล้องถ่ายใต้น้ำ กล้อง super tele เป็นต้น


แนวคิดในการทำงานของระบบ

การที่จะดูกล้องผ่านอินเตอร์เน็ท มันก็ต้องมีการส่งข้อมูล (upload) และการรับข้อมูล (download) หมายความว่า สถานที่ที่ติดตั้งกล้องวงจรปิดก็ต้องมีอินเตอร์เน็ท และต้องต่อระบบกล้องวงจรปิดเข้ากับระบบอินเตอร์เน็ทด้วย ก็เหมือนกับ และทั้งนี้ทั้งนั้น อุปกรณ์บันทึก คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ต้องการจะดูผ่านอินเตอร์เน็ทก็ต้องเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ทด้วยเช่นกัน


    

    

ระบบทำงานได้อย่างไร

ระบบดังกล่าวจะมีอุปกรณ์ที่ต้องเชื่อมโยงกัน คือ "ตัวกล้อง IP" กับ "Router" เวลาที่ Connect ผ่าน Web Browser จากอินเทอร์เน็ตภายนอกเข้าไปดูนั้น จะเข้าไปถึงตัวกล้องที่ติดตั้งเอาไว้ (ที่บ้านหรือสำนักงาน) ได้จากการระบุหมายเลข IP ที่ได้รับจาก ISP (เป็น Dynamic IP ซึ่งหมายเลขนั้นจะเปลี่ยนไปทุกครั้งที่ต่อเชื่อมเข้ากับ ISP) ดังนั้นการจะให้ระบบทำงานได้จะต้องมีขั้นตอน ดังนี้
1.     สมัครใช้บริการ ADSL กับ ISP (Internet Service Provider เช่น TRUE, 3BB, TOT เป็นต้นหลังจากที่สมัครเสร็จ ทุกครั้งที่มีการเชื่อมต่อกับ ISP ก็จะได้รับหมายเลข IP ที่แตกต่างกันไป (Dynamic Global IP) ซึ่งหมายเลขที่ได้รับในแต่ละครั้งที่ทำการเชื่อมต่อจะถูกจ่ายไปที่ Router ตรงนี้เองที่ทำให้เกิดปัญหาที่ว่า ถ้าหมายเลข IP ที่ได้รับในการเชื่อมต่อกับ ISP แต่ละครั้งไม่เหมือนกัน แล้วจะทำอย่างไรที่จะให้รู้ที่อยู่ของกล้อง IP ที่ติดตั้งเอาไว้ได้ เมื่อต้องการ Connect เข้ามาจากอินเทอร์เน็ตภายนอก
2.     ลงทะเบียนจดชื่อ โดเมนเนมเสมือนกับผู้ให้บริการ DDNS (Dynamic Domain Name Service)
3.     ผู้ให้บริการ DDNS ชี้เส้นทางต่อไปยัง Router ที่ลงทะเบียนไว้

(อธิบาย 2 และ 3) เพื่อแก้ปัญหาการไม่คงที่ของหมายเลข IP ที่ได้รับจาก ISP เวลาที่ต่อเชื่อมเข้าอินเทอร์เน็ต ทำให้ไม่สามารถอ้างอิงที่หมายเลขปลายทางได้อย่างถูกต้องทุกครั้ง จึงมีผู้คิดค้นให้บริการ "จดโดเมนเนมเสมือน" เกิดขึ้น ซึ่งก็คือผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่าน Router ทั้งหลายนั้น จะสามารถเข้าไปทำการ "ตั้งชื่อ" ของ Router ของตัวเองแทนหมายเลข IP (ที่เปลี่ยนไปทุกครั้งเมื่อต่อเชื่อมเข้าอินเทอร์เน็ต) ได้ (โดยที่ไม่ต้องไปเสียเงินจดทะเบียนโดเมนเนมจริง ๆ)  โดยที่เมื่อจดทะเบียนชื่อได้แล้ว ก็จะไปทำการ Set ชื่อของ Router (ตั้งค่าโดเมนเนมใน Router) ตามชื่อที่ได้จดทะเบียนไว้กับผู้ให้บริการจดโดเมนเสมือนนั้น แล้วก็ให้ Router นั้น Connect กับผู้ให้บริการฯ นั้นทุกครั้งที่เปิดใช้งาน  เท่านี้ Router ของท่านก็จะมีชื่อและที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้ตลอดเวลาแล้ว สำหรับตัวอย่างของผู้ให้บริการจดทะเบียนฯ ที่เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง ได้แก่ http://www.no-ip.com, http://www.dyndns.com และ http://thaiddns.com เป็นต้น

เพื่อความเข้าใจเพิ่มขึ้น กรุณาดู Sequence ของลำดับการทำงานอีกครั้ง ดังนี้



4. สร้างเส้นทางจาก Router ไปที่กล้อง IP
5. Connect เข้ามาที่กล้อง IP จากอินเทอร์เน็ตภายนอก
6. Router ชี้เส้นทางไปที่กล้อง IP

(อธิบาย 4, 5, 6) หลังจากที่ผู้ใช้งานสามารถ Connect จากอินเทอร์เน็ตภายนอกเข้ามายัง Router ได้แล้ว เส้นทางต่อไปที่จะต้องเดินต่อก็คือไปที่ตัวกล้องนั่นเอง ตรงนี้เราจะใช้วิธี Set ค่า Local IP ให้กับตัวกล้องโดยกำหนดค่านี้ได้ที่ฟังก์ชั่น Configurations ของที่ตัวกล้องเอง พร้อม ๆ กันกับกำหนด Port ที่จะใช้ติดต่อสื่อสารกับตัวกล้องด้วย หลังจากนั้นก็ใช้วิธีกำหนดค่าของ "Port Forwarding" ใน Router ให้โอนเส้นทางที่ติดต่อเข้ามาที่ Port ดังกล่าวไปยังตัวกล้อง (ตาม Local IP ที่กำหนดไว้)  สำหรับข้อควรระวังก็คือ Class และกลุ่มของหมายเลข IP ของ Router (ซึ่งตรงนี้ใช้เป็นหมายเลข IP แบบ Local (LAN IP) คนละตัวกับหมายเลข IP ที่ได้รับจาก ISP (WAN IP)) และของกล้องจะต้องเหมือนกัน หรือพูดง่าย ๆ ก็คือจะต้องอยู่ในวง LAN เดียวกัน และต้องเป็นตัวเลขที่ไม่ซ้ำกัน 

 เพื่อความเข้าใจเพิ่มขึ้น กรุณาดู Sequence ของลำดับการทำงานอีกครั้ง ดังนี้


A. กำหนดค่า LAN IP Address ของ Router เช่น 192.168.8.1
B. กำหนดค่า LAN IP Address ของกล้อง เช่น 192.168.8.100 และกำหนดเป็น Port 80 (Default Value)
C. ตั้งค่า “Port Forwarding” ที่ Router ให้ทำการ Forward เส้นทางที่ต่อเชื่อมเข้ามาจากภายนอก ณ Port 80 ไปที่ 192.168.8.100 ซึ่งก็คือตัวกล้องนั่นเอง (สามารถตั้ง Port เป็นค่าอื่นได้)

ดังนั้นถึงจุดนี้ ถ้ามีการเชื่อมต่อจากอินเทอร์เน็ตภายนอกเข้ามาที่ http://yourname.no-ip.org (Default Port อยู่ที่ Port 80 อยู่แล้ว หากใช้ค่าของ Port เป็นค่าอื่น เช่น 1000 ต้องใส่ตัวเลขของ Port ต่อท้าย URL ด้วย http://yourname.no-ip.org:1000) ก็จะสามารถเข้าไปที่ตัวกล้องและวิวดูภาพสถานการณ์สดในขณะนั้นได้ทันทีแบบ Real-Time


ระบบทำอะไรได้บ้าง

ฟังก์ชั่นการทำงานของระบบ สามารถสรุปได้เป็นข้อๆ ดังนี้ (ขึ้นอยู่กับรุ่นของกล้อง)
  1. สามารถดูภาพพร้อมฟังเสียงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่บ้านหรือสำนักงานแบบ Real-Time ได้จากทุกที่ (ที่เข้าอินเทอร์เน็ตได้) และทุกเวลาที่ต้องการ
  2. สามารถสั่งบันทึกภาพ (และเสียง) ของเหตุการณ์นั้น ๆ โดยคอนโทรลจากภายนอก
  3. สามารถสั่งกล้องหมุน ซ้าย-ขวา ก้ม-เงย และซูมภาพได้ โดยภาพที่ได้นั้นจะมีความคมชัดสูงมาก และระบบจะปรับโฟกัส/ความเข้มแสงให้อัตโนมัติด้วย สามารถตั้งค่าระบบให้เก็บภาพนิ่ง ส่งมายังโทรศัพท์มือถือ หรือ E-Mail ทุก ๆ ชั่วโมงได้
  4. สามารถขยายจำนวนกล้องที่สามารถวิวดูได้พร้อมกันหลายตัว
  5. สามารถประยุกต์ใช้ทำระบบ Video Conference ติดต่อสื่อสารทั้งภาพและเสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Nearly Real-Time)
  6. ส่วนใหญ่จะมีฟังก์ชั่นตรวจจับความเคลื่อนไหว และบันทึกภาพส่งแจ้งไปที่โทรศัพท์มือถือหรือทาง E-Mail ในทันที
  7. บางรุ่นสามารถที่จะต่อเข้ากับระบบไฟฟ้า และสั่งเปิดปิดไฟหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นที่บ้านจากอินเทอร์เน็ตภายนอกได้
  8. สามารถต่อเชื่อมเข้ากับระบบเตือนภัยอื่นและทำงานร่วมกันได้ (เช่น เปิดเสียงไซเรน ฯลฯ)
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพ จาก อินเตอร์เน็ต
แหล่งข้อมูล/ที่มา จาก เว็บไซต์
http://www.linkmastercorp.com

 

คลิป วิธี Set กล้อง IP Camera ให้ดูผ่าน Net

แบบ Step by Step โดยผู้เชี่ยวชาญด้านเน็ตเวิร์คตัวจริงเสีย­งจริง 

อ.ศุภเดช สุทธิพงศ์คณาสัย แห่งรายการ แบไต๋ไฮเทค

 

คลิป วิธี Set กล้อง IP Camera ให้ดูผ่าน Net ได้ ตอน 1




คลิป วิธี Set กล้อง IP Camera ให้ดูผ่าน Net ได้ ตอน 2

 


คลิป (Thai) DCS-942L - mydlink cloud Wireless-N 300 H.264 Infrared IP Camera

 

 

เผยแพร่เมื่อ 25 มิ.ย. 2012 โดย DLinkINTL

 สำหรับผู้ประกอบการ ที่ต้องการนำเทคโนโลยี มาสนับสนุนการทำงานหรือเสริมสร้างรายได้ 

ทางเรายินดีให้คำปรึกษา ช่วยเหลือ ดำเนินการให้ทุกๆ ท่าน ตาม วิสัยทัศน์ของบริษัท ที่ว่า

 นวัดกรรมและเทคโนโลยี สร้างสรรค์ เพื่อคุณ

สอบถามข้อมูลหรือรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อคุณสร โทร. 086-337-3504