การตลาดในยุคดิจิทัล 3.0

จุดเริ่มของแนวคิดนี้ก็เสมือนแนวคิดทางการตลาดทั่วไป ที่พูดถึงพัฒนาการ ในแนวคิดทางธุรกิจที่ออกมาเป็นช่วงต่างๆ โดยแนวคิดทางธุรกิจเริ่มจากที่การทำธุรกิจส่วนใหญ่จะเริ่มจากการเน้นการ พัฒนาระบบผลิตเพื่อให้ต้นทุนการผลิตต่ำที่สุด เพราะต้นทุนที่ต่ำกว่าย่อมนำมาซึ่งกำไรที่มากกว่า แต่บทเรียนทางธุรกิจบอกว่าแม้ต้นทุนจะต่ำกว่า ก็ไม่ได้รับประกันถึงรายได้ที่ สูงขึ้นเพราะลูกค้าให้ความสนใจกับคุณภาพของสินค้าด้วย ถ้าสินค้าคุณภาพไม่ดีลูกค้าก็จะไม่ซื้อ องค์กรควรได้เน้นย้ำถึงการปรับปรุงคุณภาพของสินค้าเพราะเชื่อว่าถ้าสินค้ามี คุณภาพดีก็จะสามารถทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นได้


ธุรกิจได้บทเรียนต่อมาว่าไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไป เพราะ บ่อยครั้งสินค้าที่คุณภาพไม่ดีกลับขายได้มากกว่าสินค้าที่คุณภาพดี ธุรกิจจึงต้องหาวิธีที่พยายามจูงใจให้ลูกค้าซื้อ และเป็นการเน้นเทคนิคการแทน แต่ผลลัพธ์ที่ได้ คือ การขายไม่ได้รับประกันถึงความสำเร็จในอนาคต จึงเกิดแนวคิดว่าองค์กรควรเน้นแนวคิดของที่ไม่ได้ให้ความสำคัญเพียงแค่ เทคนิคการขายเท่านั้นแต่ต้องครบเครื่องส่วนประสมทางการตลาดทั้งสินค้า ราคา ช่องทางการจำหน่ายและการส่งเสริมการตลดาที่สามารถตอบสนองความต้องการของ ลูกค้าได้อย่างแท้จริง และเป็นแนวคิดการตลาดที่เน้นความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก




ยุคการตลาดถูกแบ่งออกเป็น 3 ยุค ได้แก่


ยุค 1.0 เป็นยุคที่การตลาดยึดสินค้าเป็นสำคัญ (The Product Centric Era) – เน้นการลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำที่สุด และขายในราคาถูกเพื่อให้ลูกค้าจำนวนมากซื้อได้


ยุค 2.0 เป็นยุคที่การตลาดเน้นความสำคัญของผู้บริโภค (The Customer-Oriented Era) – เน้นในการตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของผู้บริโภค แต่ละส่วนตลาด ทำให้เกิดสินค้าหรือบริการให้เลือกมากมาย อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะเน้นผู้บริโภคเป็นศูนย์กลาง แต่มองว่าพวกเขาเป็นเพียงผู้รับสารการตลาดที่ถูกสื่อออกไปมากมายในแต่ละวัน โดยที่ไม่สามารถแสดงความคิดโต้ตอบได้ ลักษณะของสื่อการตลาดอยู่ในรูปแบบของการสื่อสารทางเดียว (One-Way Communication) ระหว่างกิจการตรงไปยังผู้บริโภค


ยุค 3.0 เป็นยุคที่การตลาดเน้นการขับเคลื่อนด้วยค่านิยม (The Values-Driven Era) – ไม่ได้มองผู้บริโภคแบบที่เป็นเป้านิ่งให้ถาโถมสื่อการตลาด แต่มองในฐานะมนุษย์ที่มีความคิด จิตใจ และจิตวิญญาณ ทั้งนี้ตัวผู้บริโภคไม่เพียงเป็นฝ่ายตั้งรับในการรับสื่อสารทางการตลาด แต่สามารถแสดงออกถึงความคิดเห็น (Two-Way Communication) ของตนตลอดจนมีส่วนร่วมไม้ร่วมมือด้วยจิตอาสาในการพัฒนาสินค้าหรือบริการให้ ตอบสนองความต้องการของตนให้ดียิ่งขึ้น


จะเห็นได้ว่า จุดหลักสำคัญของการตลาดยุค 2.0 กับ 3.0 ก็คือ ในยุค 3.0 ผู้บริโภคไม่ได้แต่เป็นเพียงฝ่ายตั้งรับแต่เพียงฝ่ายเดียว แต่สามารถสื่อสารโต้ตอบกลับไปยังกิจการที่ผลิตสินค้าหรือบริการ ตลอดรวมถึงสื่อสารระหว่างผู้บริโภคด้วยกันเองตรงส่วนนี้แหละครับที่ Social Media เป็นเครื่องมือสำคัญของผู้บริโภคที่จะสะท้อนถึงความต้องการที่แท้จริงของพวก เขา ตลอดจนไปถึงความคิด จิตใจ รวมไปถึงลึกเข้าไปถึงจิตวิญญาณที่ต้องการจะทำให้โลกของเราน่าอยู่ยิ่งขึ้น


เมื่อผู้บริโภคแสดงความคิดเห็นของไปสู่สาธารณะ สามารถโน้มน้าวความคิด และความรู้สึกของผู้บริโภครายอื่นๆให้เกิดความคล้อย ตาม ทั้งนี้ความคิดเห็นเหล่านี้กลับได้รับความเชื่อถือมากกว่าสารโฆษณาผ่านสื่อ แบบเดิม อย่างพวก โทรทัศน์ วิทยุ หรือ พวก หนังสือพิมพ์หรือนิตยสาร เสียอีก หรือ จะสรุปง่ายๆว่ายุคนี้เราไม่แคร์สื่อ ก็ไม่น่าจะผิดนัก การที่เพื่อนบอกถึงประสบการณ์เกี่ยวกับสินค้า

หรือบริการนั้นก็ไม่จำเป็นต้อง มาเจอหน้ากันก็ได้แล้วครับ และวิธีการเช่นนั้นก็คงจะบอกกันได้ไม่กี่คน ปัจจุบันนี้เขาก็บอกผ่านทาง Facebook, YouTube, Blog หรือ Twitter ซึ่งสื่อเหล่านี้ทำให้เสียงบอกของผู้บริโภคนั้นแพร่กว้างและทรงพลังมากกว่า ยุคก่อนมหาศาล ซึ่งแน่ละ นั้นทำให้ตัวกิจการจะต้องใส่ใจ หากคำบอกเล่าดังกล่าวเป็นไปในเชิงลบ เพราะหากละเลย อาจจะก่อให้เกิดผลเสียจากการบอกต่อๆกันไปที่เรียกว่า Viral ส่งผลกระทบต่อกิจการของตนอย่างหนักในที่สุด


การตลาดยุคใหม่ที่จะสร้างสรรค์ความเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืน จะต้องอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค สังคม และสิ่งแวดล้อมซึ่งจะเป็นปัจจัยนำไปสู่การบริหารธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ทั้งนี้แนวทางการพัฒนาธุรกิจให้ยั่งยืน จะต้องมีการพัฒนาเป็นองค์ความรู้ เพื่อสร้างสรรค์บุคลากร ที่จะพัฒนาและส่งแนวคิดไปยังรุ่นต่อไป
 
ที่มา : mmthailand.com



คลิป วีดีโอ "การทำธุรกิจและการตลาดในยุคดิจิทัล 3.0"

สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจและต้องการเพิ่ม
­ศักยภาพธุรกิจด้วย Digital Marketing

วันที่ 14 มิถุนายน 2555 เวลา 9.00 -- 16.00 น.

ห้องออดิทอเรียม ชั้น 3 อาคารซอฟต์แวร์พาร์ค ถนนแจ้งวัฒนะ





เปิดคัมภีร์ Digital Marketing 3.0 โดย คุณชูศักดิ์ เดชเกรียงไกรกุล ประธานกรรมการบริหาร และหัวหน้าทีมที่ปรึกษากลยุทธ์และด้านการต­ลาด Marketing GURU Association Co.,Ltd.




Social Media and SME Brand Building 
โดย ดร.ศิริกุล เลากัยกุล ประธานกรรมการบริหาร, Brand Being Co.,Ltd.




Social Network เมืองไทย ทำยังไงถึงจะโต และได้ผลกับธุรกิจ โดย คุณภาวุธ พงษ์วิทยภานุ กรรมการผู้จัดการ TARAD DOT COM Co.,Ltd. 




Online Business with Google 
โดย คุณพรทิพย์ กองชุน Head of Marketing, Google Thailand





แผนการตลาดที่ต้องปรับเปลี่ยนจาก Off-Line เป็น On-Line Marketing โดย คุณอนุพงษ์ เกรียงไกรลิปิกร กรรมการผู้จัดการ Chaiyo Hosting Co.,Ltd. 



E-commerce Unseen - เบื้องหลัง E-commerce ทำอย่างไรจึงจะสำเร็จ 

- คุณสมศักดิ์ คุณรัตนาภรณ์ : Managing Director บริษัท ไวส์ เอนเตอร์ไพรส์ จำกัด 
(www.WE-HOUSE.com) 
- คุณทนงศักดิ์ เหลืองทา : เจ้าของกิจการ ชิงป๊อบ ช็อปปิ้ง (shingpop.tarad.com) 
- คุณนาถฤดี พูนสวัสดิ์ : เจ้าของกิจการ ร้าน Neo Lolita (www.Neo-Lolita.com) 
- คุณเคน วู : เจ้าของกิจการ Sumpow shop (www.sumpowshop.com) 
ดำเนินรายการโดย คุณรฐิยา อิสระชัยกุล Head of Web Promotion Business Unit 
บริษัท เรดดี้แพลนเน็ต จำกัด 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ
กมลวรรณ คมใส
ฝ่ายส่งเสริมธุรกิจซอฟต์แวร์ เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย
โทร. 02-583-9992 ต่อ 1482
e-mail: sbe@swpark.or.th
 
เผยแพร่เมื่อ 20 มิ.ย. 2012 โดย nerdkmutt